14 ส.ค. 2561
ต๊าปเกลียว
ท่อในงานไฟฟ้าที่นิยมใช้ในหน้างานทั่วไปจะมี 4 แบบ คือ ท่อPVC ,ท่อเหล็กEMT,ท่อเหล็กIMC และท่อเหล็กRSC
ซึ่งท่อไฟฟ้าตัวที่ ต๊าปเกลียว ได้จะมีแค่ ท่อIMC และท่อRSC เหตุผลเพราะท่อสองชนิดนี้มีความหนามากพอที่สามารถขูด
ผิวเนื้อท่อออกตอนต๊าปร่องเกลียวได้
เชื่อหรือไม่ว่าคนใช้ส่วนใหญ่ยังมองไม่ออก และไม่รู้ว่าท่อ EMT นั้นใช้ ต๊าปเกลียวไม่ได้ มักจะสั่งซื้อมาใช้ผิดเพราะ
เห็นว่าราคาถูก งั้นเราลองมาดูกันให้เห็นภาพว่า ท่อแต่ละชนิดต่างกันยังไง
ท่อเหล็ก RSC หรือชื่อเต็มว่า Rigid Steel Conduit เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความหนาที่สุดของท่อไฟฟ้า คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าฝังพื้นคอนกรีตได้ตามมารฐานกำหนด(เพราะมันหนาจึงรับแรงกดได้เยอะท่อไม่บี้) ฝังผนังได้ เดินด้านนอกอาคารได้
การใช้งาน ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวาต้อง ต๊าปเกลียว ที่ปลายท่อ (ด้วยเครื่องต๊าปเกลียว) ใช้ต่อกับข้อต่อเกลียว และงอสำเร็จ แต่สามารถดัดงอเล็กน้อยอย่าง คอม้า หรือปีกนก ได้ด้วย Hickey(ตัวดัดท่อไฟฟ้าชนิดแข็ง) ด้วยความที่ราคาสูงสุดในบรรดาท่อไฟฟ้ามันจึงใช้ในงานใหญ่ๆ หรือส่วนที่ต้องรับน้ำหนักเยอะ อย่างท่อเมน, ส่วนที่ต้องเดินฝังพื้น หรือถนนคอนกรีตเพื่อใช้รับน้ำหนักป้องกันสายไฟด้านใน เป็นต้น แล้วแต่เจ้าของงานและมาตรฐานจะกำหนด
ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½”, 4”, 5” และ 6” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตถึง 6″
การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีดำ
ท่อเหล็ก IMC หรือชื่อเต็มว่า Intermediate Metal Conduit เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความหนารองลงมา บางกว่าท่อ RSC แต่หนากว่า ท่อEMT คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าเดินเกาะผนังได้ทั้งภายนอกและภายในอาคารตามมารฐานกำหนด และสามารถฝังผนังได้
การใช้งาน ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวาต้องต๊าปเกลียวที่ปลายท่อ(ด้วยเครื่องต๊าปเกลียว) ใช้ต่อกับข้อต่อเกลียว และงอเกลียวสำเร็จ แต่สามารถดัดงอเล็กน้อยอย่าง คอม้า หรือปีกนก ได้ด้วย Hickey(ตัวดัดท่อไฟฟ้าชนิดแข็ง) เหมือนกันกับท่อRSC ด้วยความที่ราคาต่ำกว่าท่อ RSC จึงนิยมใช้ในงานเดินท่อเกาะฝนัง หรือฝังผนังทั้งในและนอกอาคาร
ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½”และ 4” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตถึง 4″
การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีแดง
ท่อเหล็ก EMT หรือชื่อเต็มว่า Electrical Metallic Tubing เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความบางที่สุด ดังนั้นคนเลยมักเรียกว่า ท่อบาง คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าเดินท่อในอาคาร แต่ฝังดินไม่ได้ เดินนอกอาคารไม่ได้
การใช้งาน : ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวา ใช้ต่อแบบเสียบกับข้อต่อ ส่วนการงอท่อเพื่อเดินท่อเลี้ยวซ้ายหรือขวา ใช้การดัดท่อด้วยไม้ดัดเรียกว่า Bender ด้วยความที่ราคาต่ำ จึงมักนิยมใช้มากในงานเดินท่อภายในอาคาร
ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½” และ 2” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตเพียง 2″
การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีเขียว
ในการเดินท่องานไฟฟ้านั้นต้องตัดท่อตามความยาวของพื้นที่ และการต่อท่อ 2ชนิดนี้อาศัยการขันเกลียวเข้ากับข้อต่อ ข้องอ และอุปกรณ์ต่างๆ
โดยใช้เครื่องต๊าปเกลียวซึ่งเป็นเครื่องมือทำเกลียวท่อเหล็ก เราสามารถเปลี่ยนเป็นฟันไฟฟ้า(NPT) เพื่อให้ได้เกลียวไฟฟ้าที่เข้ากับเกลียวข้อต่อ
ของงานไฟฟ้า(ถ้าใช้เกลียวผิดเป็นประปาจะทำให้ขันกับข้อต่องานไฟฟ้าไม่ได้ หรือหลวม)
ลักษณะเกลียวท่อ IMC หลังจากการต๊าปเกลียวด้วยเครื่องต๊าป
เมื่อต๊าปได้เกลียวแล้ว ต้องนำข้อต่อมาสวมเพื่อลองเกลียวก่อนนำไปติดตั้ง
เราสามารถเลือกใช้เครื่องต๊าปเกลียวได้ตามขนาดท่อที่มีใช้งาน เช่น เราใช้ท่อในงานสูงสุด 2″ ก็เลือกรุ่นเครื่อง ต๊าปเกลียว เป็นรุ่น 1/2″-2″
หากมีต๊าปท่อไฟฟ้าใหญ่สุด 3″ ก็เลือกเครื่องต๊าปขนาด 1/2″-3″ มาใช้งาน แต่บางคนก็เลือกรุ่น 4″ ซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดเพื่อเลยทีเดียว
ซึ่งต๊าปเกลียวท่อได้ตั้งแต่ 1/2″-4″