มีใครเคยเห็นไหมว่า บางคนมีเครื่องต๊าป อยู่แล้ว หรือมี เครื่องดัดเหล็ก อยู่แล้ว หรือมีเครื่องมือตัวนั่นๆอยู่แล้ว แต่กลับซื้อเพิ่มให้เปลืองเงิน?? หรือบางคนซื้อทีเดียว 2ตัว!!
แล้วสงสัยไหมว่า ทำไมเขาถึงเลือกซื้อเพิ่มอีก(มีบางคนซื้อ 3,4 เครื่องเลยด้วยซ้ำ) เพราะคงไม่มีใครอยู่ดีๆ หาเรื่องเสียเงินเล่นหรอกจริงไหม
อันที่จริงที่ต้องเพิ่มเครื่องมือนั้น มีสาเหตุอยู่ดังนี้
เหล่านี้คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่อง เพื่อเพิ่มปริมาณงาน(ให้ทันเวลา) พูดง่ายๆคือ หากงานไม่ทันตามที่ต้องการ จะเป็นเพราะเวลาทำงานน้อย หรือ งานเยอะมากจนทำเครื่องเดียวไม่ทัน การเพิ่มเครื่องมือก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสามารถวางแผน ควบคุม และกำหนดได้ ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวตัดสินใจว่าจะเพิ่ม หรือ ไม่เพิ่มเครื่องมือ คือ เวลา และ จำนวนงาน ที่เหลืออยู่
ดังนั้น หากงานไหนที่เราวางแผนการทำงานล่วงหน้ามาดี ทำงานได้ตามกำหนด ก็อาจจะยังไม่จำเป็นที่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่อง ซึ่งปริมาณงานที่จะได้ก็ตามที่เราประเมินไว้ตั้งแต่แรก(หากทำได้ตามแผน)
ทีนี้..สมมติ หากเราได้งานขนาดใหญ่ขึ้น มากขึ้น ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเพิ่มเครื่องมือตามปริมาณของงาน เพื่อให้เหมาะสมตามสัดส่วน ที่คุณอาจจะต้องประเมินว่างานขนาดนี้ควรใช้เครื่องมือกี่ตัว
การเพิ่มเครื่องมือเพื่อทำงานให้ทันในเวลาจำกัด(ที่มีน้อย) แม้จะดูว่าเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นจากเดิม แต่เป็นการหยุดปัญหาไม่ให้ลุกลามและหนักขึ้น ช่วยให้ได้งานมากขึ้น งานเสร็จเร็วขึ้น ซึ่งถ้ารีบจัดการตั้งแต่เนิ่นๆก็จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
คิดดูว่า..สมมติเหลือเวลา 7วัน เพิ่มเครื่องมืออีก 1ตัวแล้วงานจบทัน กับ ปล่อยให้เหลือเวลาแค่ 3วัน เพิ่งมาตัดสินใจเพิ่มเครื่องมือ 1เครื่องไม่ทันแน่ อาจจะต้องเพิ่ม 3-4ตัว หรือมากกว่า จะเห็นว่า เวลาเหลือยิ่งน้อย ค่าใช้จ่ายจบงานจะยิ่งสูง กรณีงานเร่ง และทำไม่ทัน ดังนั้นควรจะประเมิน จัดการตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าชักช้า
ทั้งหมดนี้ก็ นำมาเล่าสู่กันฟัง บางคนอาจจะรู้อยู่แล้วเคยผ่านมาก่อน แต่บางคนก็อาจจะยังไม่เจอเหตุการณ์อย่างที่ว่ามา หากได้อ่านจนถึงบรรทัดนี้ก็คงได้ไอเดีย หลักการนำไปปรับใช้ กันบ้างไม่มากก็น้อยครับ และหากอ่านแล้วทำให้คุณได้คิดตามบ้าง ก็ถือว่าบทความนี้ก็ได้ทำประโยชน์แล้วครับ