ต๊าปเกลียว NEWTON ท่อไฟฟ้าแบบไหนต๊าปเกลียวได้ ??

 In เทคนิคงานต๊าปเกลียวท่อ
ชอบแค่ไหนกดให้ดาว
[Total: 0 Average: 0]

14 ส.ค. 2561

ต๊าปเกลียว

ต๊าปเกลียว ต้อง NEWTON

ต๊าปเกลียว

ท่อในงานไฟฟ้าที่นิยมใช้ในหน้างานทั่วไปจะมี 4 แบบ คือ ท่อPVC ,ท่อเหล็กEMT,ท่อเหล็กIMC และท่อเหล็กRSC
ซึ่งท่อไฟฟ้าตัวที่ ต๊าปเกลียว ได้จะมีแค่ ท่อIMC และท่อRSC เหตุผลเพราะท่อสองชนิดนี้มีความหนามากพอที่สามารถขูด
ผิวเนื้อท่อออกตอนต๊าปร่องเกลียวได้

เชื่อหรือไม่ว่าคนใช้ส่วนใหญ่ยังมองไม่ออก และไม่รู้ว่าท่อ EMT นั้นใช้ ต๊าปเกลียวไม่ได้ มักจะสั่งซื้อมาใช้ผิดเพราะ
เห็นว่าราคาถูก งั้นเราลองมาดูกันให้เห็นภาพว่า ท่อแต่ละชนิดต่างกันยังไง

ท่อเหล็ก หนาพิเศษ RSC

ต๊าปเกลียว

ท่อเหล็ก RSC หรือชื่อเต็มว่า  Rigid Steel Conduit  เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความหนาที่สุดของท่อไฟฟ้า คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าฝังพื้นคอนกรีตได้ตามมารฐานกำหนด(เพราะมันหนาจึงรับแรงกดได้เยอะท่อไม่บี้) ฝังผนังได้ เดินด้านนอกอาคารได้

การใช้งาน ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวาต้อง ต๊าปเกลียว ที่ปลายท่อ (ด้วยเครื่องต๊าปเกลียว) ใช้ต่อกับข้อต่อเกลียว และงอสำเร็จ แต่สามารถดัดงอเล็กน้อยอย่าง คอม้า หรือปีกนก ได้ด้วย Hickey(ตัวดัดท่อไฟฟ้าชนิดแข็ง)  ด้วยความที่ราคาสูงสุดในบรรดาท่อไฟฟ้ามันจึงใช้ในงานใหญ่ๆ หรือส่วนที่ต้องรับน้ำหนักเยอะ อย่างท่อเมน, ส่วนที่ต้องเดินฝังพื้น หรือถนนคอนกรีตเพื่อใช้รับน้ำหนักป้องกันสายไฟด้านใน เป็นต้น แล้วแต่เจ้าของงานและมาตรฐานจะกำหนด

ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½”, 4”, 5” และ 6” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตถึง 6″

การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีดำ

ท่อเหล็ก หนาปานหลาง IMC

 

ท่อเหล็ก IMC หรือชื่อเต็มว่า  Intermediate Metal Conduit  เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความหนารองลงมา บางกว่าท่อ RSC แต่หนากว่า ท่อEMT  คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าเดินเกาะผนังได้ทั้งภายนอกและภายในอาคารตามมารฐานกำหนด และสามารถฝังผนังได้

การใช้งาน  ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวาต้องต๊าปเกลียวที่ปลายท่อ(ด้วยเครื่องต๊าปเกลียว) ใช้ต่อกับข้อต่อเกลียว และงอเกลียวสำเร็จ แต่สามารถดัดงอเล็กน้อยอย่าง คอม้า หรือปีกนก ได้ด้วย Hickey(ตัวดัดท่อไฟฟ้าชนิดแข็ง) เหมือนกันกับท่อRSC ด้วยความที่ราคาต่ำกว่าท่อ RSC จึงนิยมใช้ในงานเดินท่อเกาะฝนัง หรือฝังผนังทั้งในและนอกอาคาร

ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½”, 2”, 2 ½”, 3”, 3 ½”และ 4” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตถึง 4″

การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีแดง

ท่อเหล็ก บาง EMT

ท่อเหล็ก EMT หรือชื่อเต็มว่า  Electrical Metallic Tubing  เป็นท่อชุบกัลวาไนซ์(กันสนิม)ที่มีความบางที่สุด  ดังนั้นคนเลยมักเรียกว่า ท่อบาง คุณสมบัติใช้ร้อยสายไฟฟ้าเดินท่อในอาคาร   แต่ฝังดินไม่ได้ เดินนอกอาคารไม่ได้

การใช้งาน : ตัวท่อชนิดนี้เวลาต่อท่อ เดินไปซ้ายหรือขวา ใช้ต่อแบบเสียบกับข้อต่อ ส่วนการงอท่อเพื่อเดินท่อเลี้ยวซ้ายหรือขวา ใช้การดัดท่อด้วยไม้ดัดเรียกว่า Bender  ด้วยความที่ราคาต่ำ จึงมักนิยมใช้มากในงานเดินท่อภายในอาคาร

ขนาดท่อ : ½”, ¾”, 1”,1 ¼”, 1 ½” และ 2” (นิ้ว) โดยมีความยาวท่อนละ 3 เมตรและท่อชนิดนี้มีขนาดใหญ่สุดที่ผลิตเพียง 2″

การสังเกต : ท่อชนิดนี้จะมีโลโก้ และตัวอักษรบอกขนาดบนท่อเป็นสีเขียว

เครื่องต๊าปเกลียว คือเครื่องมือที่ใช้ทำเกลียวปลายท่อ RSC และ IMC

ในการเดินท่องานไฟฟ้านั้นต้องตัดท่อตามความยาวของพื้นที่ และการต่อท่อ 2ชนิดนี้อาศัยการขันเกลียวเข้ากับข้อต่อ ข้องอ และอุปกรณ์ต่างๆ
โดยใช้เครื่องต๊าปเกลียวซึ่งเป็นเครื่องมือทำเกลียวท่อเหล็ก เราสามารถเปลี่ยนเป็นฟันไฟฟ้า(NPT) เพื่อให้ได้เกลียวไฟฟ้าที่เข้ากับเกลียวข้อต่อ
ของงานไฟฟ้า(ถ้าใช้เกลียวผิดเป็นประปาจะทำให้ขันกับข้อต่องานไฟฟ้าไม่ได้ หรือหลวม)

ลักษณะเกลียวท่อ IMC หลังจากการต๊าปเกลียวด้วยเครื่องต๊าป

เมื่อต๊าปได้เกลียวแล้ว ต้องนำข้อต่อมาสวมเพื่อลองเกลียวก่อนนำไปติดตั้ง

 

เราสามารถเลือกใช้เครื่องต๊าปเกลียวได้ตามขนาดท่อที่มีใช้งาน เช่น เราใช้ท่อในงานสูงสุด 2″ ก็เลือกรุ่นเครื่อง ต๊าปเกลียว เป็นรุ่น 1/2″-2″
หากมีต๊าปท่อไฟฟ้าใหญ่สุด 3″ ก็เลือกเครื่องต๊าปขนาด 1/2″-3″ มาใช้งาน แต่บางคนก็เลือกรุ่น 4″ ซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดเพื่อเลยทีเดียว
ซึ่งต๊าปเกลียวท่อได้ตั้งแต่ 1/2″-4″

Recommended Posts

Leave a Comment

Start typing and press Enter to search